top of page

กลุ่มสีที่คนเข้าใจผิด กลุ่มสีบลอนด์ (6.0 7.0 8.0) Part I

เจอกันบ่อยใช่มั้ยครับที่ลูกค้าเดินมาบอกว่า อยากได้ผมสีน้ำตาลตามเฉดต่างๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สีที่เค้าต้องการนั้นไม่ใช่สีน้ำตาลแต่มันคือสีบลอนด์ หลายๆคนมักจะสับสนระหว่างสีน้ำตาลในเฉด เข้ม กลาง อ่อน กับสีบลอนด์ เมื่อสับสนคนเลยไปใช้วิธีที่ง่ายที่สุดนั้นคือ การเรียกชื่อตามความเคยชิน และสีน้ำตาลคือสีที่ทุกคนเคยชินมากกว่า ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนทั่วเรียกสีน้ำตาลแทนสีบลอนด์

การทำสีผมของช่างทำผมเปรียบเหมือนเอา 2 ศาตร์มารวมกัน นั้นคือวิทยาศาสตร์ + ศิลปะ เพราะมันคือการผสมกันระหว่างหลักการและจินตนาการเข้ารวมกัน

แอลแองเจลได้คิดสูตรสีที่สามารถนำมาเป็นหลักการเบื้องต้นให้กับช่างทำผมเข้าใจง่ายในรูปแบบของรูปภาพที่เราจะนำเสนอสอดแทรกในบทความนี้

มาเริ่มกันเลยครับ บทความนี้เราจะมาไขข้อกระจ่างว่าสีน้ำตาลกับสีบลอนด์นั้นมีความต่างกันอย่างไง?

ตามชาร์จสีจากด้านบน

จากปอยผมด้านซ้ายสุด หากดูจากล่างขึ้นบนเราจะดูความสว่าง ซึ่งแต่ละลำดับขั้นจะสว่างขึ้นเรื่อยๆ และการแบ่งสีน้ำตาลกับบลอนด์มาจากความสว่างนั้นเอง

เราแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ครับ

กลุ่มสีดำเริ่มจาก สีเบอร์ 1.0 intense black (โคตรดำ) และ 2.0 สีดำ (ดำธรรมชาติ)

กลุ่มสีน้ำตาลเริ่มจาก สีเบอร์ 3.0 สีน้ำตาลเข้ม 4.0 สีน้ำตาลกลาง 5.0 สีน้ำตาลอ่อน

กลุ่มสีบลอนด์เริ่มจาก สีเบอร์ 6.0 สีบลอนด์เข้ม 7.0 สีบลอนด์กลาง 8.0 บลอนด์อ่อน

(สีทีมีระดับสูงเช่น 9.0 ขึ้นไปนะครับ ผมขออธิบายในบทความความต่อไปครับ)

ทำไมถึงใช้กลุ่มสีดำและกลุ่มสีน้ำตาล?

คนส่วนใหญ่จะกลุ่มสีดำและสีน้ำตาลในการปิดผมหงอกครับ ผมหงอกคือผมที่สว่าง ดังนั้นกลุ่มทีมีเม็ดสีเข้มมากๆ จะมากลบและปิดหงอกได้สนิท 100%

การนิยามกลุ่มสีเพราะความเคยชิน

-เพราะความเข้มของเบอร์ 1.0, 2.0, 3.0 จะเป็นกลุ่มสีที่พอทำมาแล้วคนนึกว่ามันคือกลุ่มสีดำทั้งหมด

ประเด็นที่ทำให้คนสับสนระหว่างสีน้ำตาลและสีบลอนด์อยู่ตรงที่ค่าของเม็ดสี

-เพราะความใกล้เคียงกันของเบอร์ 4.0, 5.0, 6.0, 7.0 และ 8.0 ทำให้คนเหมารวมว่าสีพวกนี้คือกลุ่มน้ำตาลทั้งหมด แต่ความเป็นจริงแล้วลำดับความสว่างมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ผมจะปรากฎเม็ดสีส้มและเม็ดสีแดงที่ซ่อนอยู่ในเส้นผมออกมา

กล่าวคือในกลุ่มสีน้ำตาลคือ เม็ดสีเข้ม และในกลุ่มสีบลอนด์คือ กลุ่มเม็ดสีที่สว่างขึ้น นั้นคือเม็ดสีส้ม เม็ดสีแดง และเม็ดสีเหลืองนั้นเอง

ถ้ามองในแสงแดดธรรมดาสายตาคนทั่วไปจะแยกไม่ออก แต่เราจะได้ยินบ่อยๆที่ช่างทำผมพูดว่า เมื่อโดนแสงแดดจากพระอาทิตย์หรือแสงไฟทั่วไปจะเห็นความต่าง

ผมมีตัวอย่างสีกลุ่มบลอนด์จะมีรูปตามด้านล่างนี้ครับ

มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจจะมองว่าแค่เรื่องต่างกันไม่มีประเด็นที่ต้องกังวล เพราะมันก็ใกล้เคียงกันอยู่ดี หากมองในมุมของบุคคลทั่วไปอาจจะเป็นแบบนั้น แต่มุมมองของช่างทำผมมืออาชีพมัน"ต่างกัน"มากเลยครับ

เพราะว่าสีผมในกลุ่มสีบลอนด์นั้น คือการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่ช่างทำผมต้องเข้าใจเพื่อที่จะต่อยอดไปทำเฉดผมสีต่าง เช่น บลอนด์ประกายหม่นเขียว หรือทอง มะฮอกกานี หรือหม่น เพราะเม็ดสีในระดับความสว่างต่างๆนั้นให้ค่าที่แตกต่างกัน ดังนั้นบางสีที่คนทั่วไปนิยาม หรือความต้องการของผู้บริโภคต้องการมันจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ช่างทำผมสามารถทำได้ ทำให้ลูกค้าโว้ย ทะเลาะกันใหญ่โตก็เคยมีกันมาแล้ว

จริงๆแล้วงานกลุ่มสีบลอนด์ระดับ 6.0 7.0 8.0 นั้นเป็นงานง่ายมากๆ เพราะมันคือประกายธรรมชาติ การนำเสนอสีนี้ช่างผมอาจจะไม่มั่นใจเพราะว่ามันง่ายไปจนเหมือนยังไม่ได้ทำอะไรให้ลูกค้าเลย แต่จริงๆแล้วหากเราเข้าใจลูกค้า สีระดับนี้คือความมินิมอล หรือน้อยๆแต่ดูมากที่ลงตัว เหมาะกับลูกค้าที่ยังไม่เคยทำสีแรงๆ หรืออยากจะเริ่มต้นทำโทนสีที่มีความเป็นแฟชั่นมากขึ้นแต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแบบพลิคบุคลิค

การทำผมสีนี้อาจจะทำเป็นสีหลักและเพิ่มเติมด้วยการเล่นไฮไลท์เพื่อสร้างมิติ 3D หรือ low light หรือ บาลายาจ และอาจจะเพิ่มมูลค้าเพิ่มของการทำสีด้วยการทำทรีทเม้นท์

เพราะสีนี้คือความน้อยที่ลงตัว และเหมาะกับทุกคน หากเราเข้าใจและสามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจตรงกัน สีบลอนด์จะไม่ใช่ปัญหาของช่างผมไทยอีกต่อไปครับ

พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ

bottom of page